เปรียบเทียบระบบการศึกษาไทยกับอังกฤษแตกต่างกันอย่างไร

การศึกษาอังกฤษ

ประเทศอังกฤษจัดว่าเป็นอีกหนึ่งผู้นำโลกทางด้านการศึกษาด้วยเหมือนกัน ต้องบอกเลยว่าการเรียนที่อังกฤษนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยด้วย หากเราเปรียบเทียบการศึกษาของไทย กับ การศึกษาของอังกฤษมีความแตกต่างกันอย่างไร เราได้ไล่เรียงข้อที่น่าจะเห็นความแตกต่างชัดเจนมาไว้ด้านล่างนี้แล้ว เผื่อว่าใครจะไปเรียนที่อังกฤษจะได้เตรียมตัวไว้ก่อน

แนวคิดในห้องเรียนที่แตกต่างกัน

หากจะถามว่าอะไรเป็นข้อแตกต่างกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นบรรยากาศในห้องเรียน หากเป็นการเรียนแบบไทยการเรียนจะเน้นการบรรยาย การท่องจำ เพื่อเอาไปสอบการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องที่แปลก และไม่ควรทำ นั่นเป็นสิ่งที่ตรงข้ามเลยหากเราเข้าเรียนที่อังกฤษ บรรยากาศในห้องเรียนของอังกฤษจะเป็นการเรียนด้วยการแสดงความคิดเห็น โต้แย้งกันเพื่อถกหาความแตกต่างกัน ซึ่งคำว่าการแสดงความคิดเห็น การตั้งคำถาม ไม่ใช่การตั้งคำถามเพื่อเอาความรู้ความจำอย่างเดียวนักเรียนที่นั่นต้องอ่านหนังสือหนักมาก (จะมีบอกตั้งแต่ต้นเทอมเลยว่าจะต้องอ่านเล่มไหนหน้าไหนเรียนคาบไหน) เพื่อให้มีความรู้ไปถกกับเพื่อนได้ บอกเลยว่าหากเราไม่อ่านเตรียมตัวไปอย่างดี ตอบอะไรกับเค้าไม่ได้แน่นอนซึ่งนั่นไม่ดีต่อตัวเรา

เส้นทางการศึกษาตั้งแต่เด็กจนโต

เรามาดูเส้นทางการเรียนของระบบการศึกษาไทยกับ อังกฤษว่า แตกต่างกันอย่างไร เริ่มจากระดับอนุบาลจะตั้งต้นพร้อมกันที่ 3 ขวบ ฝั่งไทยจะเรียนประมาณ 4 ปี ก่อนเข้า ป.1 แต่ถ้าเป็นอังกฤษจะเรียนเพียงแค่ปีเดียว ก็จะเข้าระดับประถมศึกษาเลย ระดับประถมเท่ากันที่ 6 ปี ระดับมัธยมจะไม่เหมือนกัน ฝั่งไทยจะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี แต่ฝั่งอังกฤษจะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี พอจบม.ต้น ตรงนี้จะเหมือนกัน ไทยกับอังกฤษจะมาถึงทางแยกที่เราจะให้เลือกว่าจะเรียนสายสามัญ หรือ สายอาชีพ เอาสายสามัญก่อนถ้าเป็นไทยจะเรียน ม.ปลาย 3 ปี แต่ฝั่งอังกฤษเรียนเพียงแค่ 2 ปี แล้วไปต่อระดับมหาวิทยาลัยปริญญาตรีตามลำดับ ฝั่งสายอาชีพถ้าเป็นของไทยจะเรียนทั้งหมด 5 ปี(แล้วไปต่อระดับปริญญาตรีอีกสองปี) ฝั่งอังกฤษจะเรียนเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น แต่ไม่มีการต่อระดับปริญญาตรีนะ

ระดับปริญญาถ้าเป็นของไทยจะอยู่ที่ 4-6 ปี เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าหากเป็นฝั่งอังกฤษจะใช้เวลาเพียงแค่ 3-6 ปีเท่านั้น แต่ความแตกต่างอยู่ที่ระดับปริญญาโทของไทยจะเป็น 2 ปี แต่ถ้าหากเป็นอังกฤษจะใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น สุดท้ายระดับปริญญาเอกจะเท่ากันทั้งสองฝั่ง 3-5 ปีตามลำดับ แต่หากใครจะไม่เรียนต่อทั้งสองฝั่งจะมีระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ด้วย แต่ฝั่งอังกฤษจะมีระบบช่วยเหลือมากกว่า

ระบบการแบ่งเวลาเรียน

หากเราเรียนหนังสือในไทย แล้วเกิดต้องบินไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เรื่องของช่วงเวลาถือว่าสำคัญทีเดียว ถ้าไม่นับระดับมหาวิทยาลัย ถือว่าแตกต่างกันเยอะ การศึกษาของไทยจะแบ่งออกเป็นสองช่วง (สองภาคเรียน) ภาคเรียนแรกจะเป็นกลางเดือนพฤษภาคม จนถึงกลางเดือนตุลาคม ภาคเรียนที่สองต้นเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนมีนาคม แต่หากเป็นที่อังกฤษจะแบ่งการเรียนออกเป็น 3 ภาคเรียน โดยมีช่วงเวลาดังนี้ ภาคต้นจะเริ่มช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม ภาคกลางกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม และ ภาคปลายปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ตามลำดับ

จากความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่า อังกฤษ กับไทย แตกต่างกันค่อนข้างเยอะทีเดียว โดยเฉพาะแนวคิดในการสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียนที่อังกฤษเน้นการเรียนแบบการถก มากกว่าการให้ความรู้อย่างเดียว ส่วนไทยเราจะเน้นไปที่การท่องจำ ฟังเนื้อหา อ่านหนังสือเพื่อสอบ มากกว่า หากเราคิดจะยกระดับการศึกษาของไทยก็อาจจะปรับวิธีการสอนก็น่าจะดี