ความสัมพันธ์ของประเทศไทย และชาติตะวันตกในอดีต ทรรศนะ และมุมมองที่มีต่อกัน

ในอดีตที่ผ่านมานั้น ประเทศไทย และประเทศอังกฤษนั้นต่างมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมานานหลายร้อยปี ตั้งแต่ในสมัย กรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ก็นับว่ามีอยู่ในช่วงหนึ่งที่มีการแตกหักของความสัมพันธ์ระหว่างไทย และชาติตะวันตก  เพราะในสมัยของพระเทพราชานั้นได้มีการ ประหารคนสำคัญที่ติดต่อชาติตะวันตกอย่าง เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ที่มีหน้าที่ในการติดต่อซื้อขาย และเป็นสื่อกลางในชาติตะวันตกที่เข้ามาทำการค้าขายในประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งผลจากการกระทำเช่นนั้นทำให้ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็น การเผยแพร่ศาสนา การค้า ผู้ลี้ภัยชาวตะวันตก ต่างได้รับผลกระทบกันทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

โดยที่ในเวลาไม่นานชาวต่างชาติเกือบทั้งหมดรวมทั้ง หมอสอนศาสนา การค้าขายทุกอย่างกับต่างชาตินั้นต่างหยุดชะงักทั้งหมด จนล่วงเวลามาจนถึงสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นยุคสมัยที่ต่างชาตินั้นได้เริ่มมีการเข้ามารุกรานหลายๆ ประเทศมากขึ้นซึ่งกำลังจะส่งผลกระทบต่อสยามในไม่ช้า ด้วยอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มองเห็นถึงภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับแผ่นดินของเราได้ จึงได้ทรงลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งส่งผลต่ออำนาจศาล และศุลกากรเพราะเป็นการให้อิสรภาพต่างชาตินอกอาณาเขต และเนื่องจากการลงนามในครั้งนี้ทำให้พันธสัญญาของไทย และจีนนั้นจบลง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ก่อสร้างกันมาอย่างยาวนานนั้นจบลงไปด้วย

ผ่านช่วงเวลามาอย่างยาวนานในที่สุดเมื่อผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านเลยไป ระดับความครุกกรุ่นนั้นต่างเลือนหายไปตามกาลเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย และอีกหลายประเทศนั้นมีแนวโน้มที่ดียิ่งขึ้นสังเกตได้จากช่วง 100 ปี ที่ผ่านมานั้น มีนักท่องเที่ยวจากดินแดนตะวันตก นั้นต่างหลั่งไหลกันเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ด้วยธรรมชาติที่สวยงามพร้อมกับ ความเป็นกันเองของคนไทยนั้นเองที่ทำให้ คนต่างชาตินั้น ต่างยกให้ประเทศไทยนั้นเมือง “Land Of Smile ” หรือสยามเมืองยิ้มนั่นเอง ด้วยค่าครองชีพที่ถูกอย่างน่าเหลือเชื่อ พร้อมกับธรรมชาติที่งดงาม  มีชาวต่างชาติมากมายท่า