การเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษ

สหราชอาณาจักรบริเวณใหญ่และไอซ์แลนด์เหนือ อังกฤษ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของดินแดนล้อมรอบด้วยทะเล เรียกว่า เกาะบริเตนใหญ่ ประกอบด้วย 3 ประเทศ หรือแคว้น คือ อิงแลนด์ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) และเวลส์ (Wales) แต่ว่าเมื่อผนวกเอาอีกประเทศหนึ่ง คือไอซ์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เข้ามารวมอยู่ด้วยแล้ว ทั้งหมดจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหราชอาณาจักร (The Unitedkingdom : UK)

สหราชอาณาจักร ซึ่งถือกำเนิดในปี ค.ศ. 1801 นั้น เกิดจากการรวมตัวของประเทศที่กล่าวมาข้างต้น ที่เคยเป็นรัฐอิสระมาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ณ เวสมินเตอร์ ในลอนดอน การรวมตัวนี้ได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร ประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ นั่นเอง ดังนั้น เพื่อความเข้าใจง่าย ในที่นี้ จะขอเรียกทั้งหมดของสหราชอาณาจักรว่า อังกฤษ

ประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบและตัวอย่างของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และที่สำคัญอย่างมาก คือมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อันเนื่องมาจากประเทศอังกฤษมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองที่มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องกฎหมาย รัฐธรรมนูญ อังกฤษที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อความเข้าใจ และแสดงให้เห็นถึงสภาพทางประวัติศาสตร์ และการเมืองการปกครองของอังกฤษ ที่ส่งผลทำให้อังกฤษมีระบุการปกครองที่ได้รับการยอมรับยิ่งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ และรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต

กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ เช่น อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมาทำให้รัฐธรรมนูญของอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เป็นผลมาจากการวิวัฒนาการอันแสนยาวนานของระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ จึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงทีละน้อยๆ ดังนั้นเห็นว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์ กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในทศวรรษที่ 20 ดังนั้น การที่จะเข้าใจรัฐธรรมนูญของอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นก็คือ การมีรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร จึงควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นของประวัติ และที่มาของรัฐธรรมนูญรวมถึงหลักการสำคัญที่ถูกกำหนดเป็นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะเห็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญของอังกฤษ

ระบบการเมืองของอังกฤษ สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ เป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ซึ่งใช้อำนาจภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่บางส่วนมาจากกฎหมายที่ร่างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะที่บางส่วนมาจากจารีตประเพณี ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า หลักการที่สำคัญที่สุดในระบบอังกฤษ คือ อำนาจอธิปไตยของรัฐสภา กล่าวคือรัฐสภามีอำนาจในการตรา หรือ ยกเลิกพระราชบัญญัติใดก็ได้ ตามที่เห็นสมควร พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาถือเป็นกฎหมายสูงสุดไม่มีกฎหมายใดมีอำนาจเหนือกว่า ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทำได้เพียงการตีความกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น แต่ในทางกฎหมาย และประเพณี ผู้ที่บริหารอำนาจนี้ ประกอบด้วย 3 สถาบัน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ สภาขุนนาง และสภาสามัญ Dicey นักกฎหมายของอังกฤษได้กล่าวถึงหลักการอำนาจสูงสุด หรืออธิปไตยของรัฐสภาอังกฤษไว้ว่า รัฐสภามีสิทธิที่จะออกกฎหมาย หรือยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ได้ ไม่มีผู้ใดในอังกฤษที่จะมีสิทธิเพิกเฉย หรือละเมิดกฎหมายของรัฐสภา

หรือคำกล่าวของ Kavanagh ที่ให้ความหายอำนาจอธิปไตยของรัฐสภาว่า หมายถึง รัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งอังกฤษ มีสิทธิที่จะบัญญัติโดยรัฐสภา ด้วยเหตุที่ไม่มีกฎหมายใดๆ และไม่มีบุคคลใดจะได้รับการยอมรับโดยกฎหมายอังกฤษ ที่จะมีสิทธิล้มล้างกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภา จึงเท่ากับว่าพระราชบัญญัติของรัฐสภา ถือเป็นกฎหมายสูงสุด ระบบรัฐสภามีอำนาจสูงสุด และเป็นหลักของการปกครองในประเทศอังกฤษในปัจจุบัน วิวัฒนาการจากสภาใหญ่ (Great Council) ของกษัตริย์สมัยก่อนที่พระมหากษัตริย์ ทรงอาศัยสภาเป็นที่ปรึกษา และสภาก็ขยายจำนวนมากขึ้น ตามสถานการณ์นานาประการ